miércoles, 4 de diciembre de 2013

❤BOOKTALK❤ Divergent-Insurgent-Allegiant {Thai}

ใครเป็นใครใน Divergent Insurgent Allegiant 



ขอกรี๊ดสักครู่.....
...............................................
.................................................
คือ ดิฉันใช้เวลาครึ่งคืน (เที่ยงคืนถึงประมาณตีสี่) ในการอัดวิดีโอเพื่อรีวิวซีรี่ส์ชุดนี้
แล้วเป็นไง โปรแกรมวิดีโออันเฮงซวยและไม่รักดี ทำให้วิดีโอต้องกระตุก หลังจากตัดต่อมาร่วมสัปดาห์

เพราะงั้นเลย บายนะ
เขียนดีกว่า ความคิดจะได้เป็นสัดเป็นส่วนด้วย
โอเค นอกเรื่องพอแล้ว เริ่มเกริ่นเข้าเรื่องค่ะ 55555


สำหรับประเทศไทยซีรี่ส์เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องใหม่ เพิ่งจะมีฉบับแปลออกมาเอง เราเพิ่งเห็นวันนี้
(ขอแอบติงการแปลชื่อเรื่องเบาๆว่าไม่น่าแปลเป็น "มายาเร้นโลก" เลย เพราะหนังสือชุดนี้ไม่มีมายาอะไรทั้งสิ้น เป็นแนววิทยาศาสตร์ เครียดและไม่ชวนฝันเลยสักนิดเดียว --คือเรามองว่า การใช้คำว่า "มายา" ทำให้เรานึกถึงอะไรเร้นลับอย่าง Harry Potter, Twilight, Beautiful Creatures อะไรทำนองนี้มากกว่า ซึ่ง Divergent มันคนละโลกเลย ฮือๆ)

และจะมีภาพยนตร์เข้าฉายประมาณมีนาคมปีหน้า (2014) ด้วย ส่วนตัวเราแล้ว พอใจกับ การคัดเลือกนักแสดงมาก แม้จะทุกคนจะดูแก่กว่าในหนังสือก็ตาม (พระเอกแซ่บและบึ้กดี อาาาาาา~)



จริงๆแล้ว Divergent ดังอยู่นานพอสมควรแล้ว ตามติด Hunger Games เลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นหนังสือรุ่นน้อง ออกตามๆกันมาในยุคที่ Dystopian Books กลับมาตีตลาดต่างประเทศ (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา)

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่อง (อะไรนี่คือยังไม่เข้าอีกหรอ 555) เราบอกอะไรสักเล็กน้อยก่อน
เพราะเราตั้งใจเขียนให้ค่อนข้างละเอียด ในรีวิวจึงมีทั้งจุดที่สปอยล์และไม่สปอยล์ ตรงไหนสปอยล์เราจะเขียนตัวใหญ่ๆๆๆๆๆๆ เอาไว้ให้ จะได้ข้ามไปอ่านในส่วนอื่นนะ :)
ถ้าพร้อมแล้วก็... ตีตั๋วไป Chicago กันเต๊อะ!!!


สังคมของไดเวอร์เจนท์
SPOILER FREE: ไม่มีสปอยล์
ประเด็นแรกขอพูดถึงเรื่องสังคมของไดเวอร์เจนท์ก่อนเลย การสร้างสังคมในหนังสือประเภท Dystopian นั้น เรามองว่าเป็นจุดสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวชี้วัดเลยว่า เรื่องจะออกไปในทิศทางไหน
แล้วนอกจากเรื่องการถูกควบคุมโดยรัฐบาลแล้ว สังคมนี้ต่างจากสังคมในเรื่องอื่นๆอย่างไร?
ตามในหนังสือเล่มหนึ่ง สังคมของไดเวอร์เจนท์เป็นสังคมในโลกอนาคต ยามที่สงครามสงบแล้ว ฉากของเรื่องคือเมืองชิคาโก้ ทุกคนใช้ชีวิตปกติเหมือนสังคมเรา เพียงแต่มีอุปกรณ์ที่ไฮเทคกว่า
สังคมของไดเวอร์เจนท์จะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มหรือ factions โดยแต่ละ faction นั้นจะยึดคุณธรรมที่ต่างกันไป มี manifestos เอาไว้ยึดถือ ทุกคนปฏิบัติตามคุณธรรมนั้นอย่างสุดโต่ง และรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆตามที่ factions ของตัวเองได้กำหนดไว้ factions เหล่านั้นคือ
1. Abnegation: คนกลุ่มนี้ เน้นเรื่องการเสียสละ ไม่ยึดติดอยู่กับตัวเอง ทุกคนเงียบขรึม แต่งชุดสีเทา ไม่ชอบมองกระจก (การมองกระจกถือเป็นการหลงตัวเอง) ทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคม  นึกถึงผู้อื่นและส่วนร่วมเป็นหลัก
2. Dauntless: คนกลุ่มนี้เป็นผู้กล้า แต่ไม่ใช่ผู้กล้าแบบกริฟฟินดอร์นะ เป็นผู้กล้าแบบออกแนวโหดๆ ทำหน้าที่คล้ายๆทหาร ชอบใช้กำลัง ทำทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะความกลัวทั้งทาง physical และ mental
3. Erudite: กลุ่มคนฉลาดและกระหายความรู้ คนส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์คอยพัฒนาโน่นนี่นั่นเพื่อสังคมโดยรวม
4. Amity: กลุ่มคนรักสันติ ไม่ชอบการต่อสู้ ไม่ชอบต่อล้อต่อเถียง อยู่ได้ด้วยตัวเอง มีอาชีพเป็นเกษตรกร แต่บางครั้งกลุ่มนี้ก็ลุกขึ้นสู้ เพราะยึดแนวคิดที่ว่า บางทีการจะได้ความสงบสุขมาก็ต้องสู้ก่อน
5. Candor: กลุ่มคนยึดถือสัจจะ เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีความลับ ซื่อตรง เชื่อถือได้ ยึดมั่นแต่ความจริง โปร่งใส

แล้วทำไมต้องเป็นห้ากลุ่มนี้?
ว่ากันว่า ทั้งห้ากลุ่มสร้างขึ้นมาจาก flaws ของมนุษย์ กล่าวคือ การรบราฆ่าฟันกันในอดีต เกิดขึ้นมาก็เพราะมนุษย์นั้นเห็นแก่ตัว, ขี้ขลาด, ไม่ประสีประสา, ก้าวร้าวรุนแรงและไม่ซื่อสัตย์ สังคมจึงแบ่งออกเป็นห้ากลุ่มเพื่อชดเชยข้อบกพร่องของมนุษย์ทั้งห้าอย่างนั้น

หลักการที่น่าสนใจ (สำหรับเรา) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสังคมนี้ก็คือ
จริงๆแล้ว คนในสังคมนี้มีสิทธิ์เลือกกลุ่มของตัวเองเมื่อถึงเวลา ตรงนี้จะต่างกับ The Hunger Games หรือ Delirium หรือแม้แต่ The Giver ที่ทุกอย่างทางรัฐบาลจะจัดการ
สิ่งที่รัฐบาลในสังคมไดเวอร์เจนท์จะจัดการให้คุณก็คือ ช่วยจัดการทดสอบเพื่อดูว่าคุณมีแนวโน้มควรไปอยู่กลุ่มไหน และถึงแม้ผลของคุณจะบอกว่าอย่างไร คุณก็มีสิทธิ์เลือกว่าจะเชื่อผลการทดสอบหรือไม่ก็ได้ ในวัน Choosing Ceremony ทุกคนจะกรีดเลือดลงในอ่างที่มีสัญลักษณ์ของแต่ละ factions และจากนั้นเป็นต้นไป ทุกคนก็ต้องยึดถือคำกล่าวที่ว่า "Faction before blood" ถ้าคุณคิดจะออกจากครอบครัวและ faction เดิมของคุณก็ได้ แต่ there's no going back.
สังเกตได้ว่าสังคมนี้ ให้สิทธิ์คนในสังคมเลือก ได้ (แม้จะเป็นการเลือกจากช้อยส์ที่มีโคตรจำกัดก็ตาม)
แต่ถึงกระนั้น คุณก็ต้องไปผ่านกระบวนการคัดกรองก่อนอยู่ดี กลุ่มที่มีคนตกผลการทดสอบมากที่สุดก็คือ Dauntless เพราะการคัดคนของที่นั่นโหดมาก ตายเป็นตาย

เออ แล้ว Divergent ชื่อเรื่องมันมาจากไหนคืออะไร?
คนที่เป็น Divergent ถือเป็นบุคคลอันตราย "เพราะ" เอาจริงๆแล้ว การจัดคนให้เป็นกลุ่มแบบนี้ สั่งสอนให้เค้าเชื่อตามกันแบบนี้ ทำให้คนถูกควบคุมได้ง่ายมาก ทุกคนกลายเป็นคนที่อ่านง่าย เช่น เจอคนจาก Dauntless ก็จะรู้ว่าเขาเชื่อหรือให้ความสำคัญกับ virtue ข้อไหนมากที่สุด แต่คนที่เป็น Divergent คือ คนที่ไปทดสอบแล้ว ผลการทดสอบไม่สามารถสรุปได้ คือ เป็นคนที่มีคุณสมบัติหลายอย่างอยู่ในตัว และคนเหล่านั้น ในเล่มแรก ก็จะถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เพราะไม่สามารถถูกบังคับได้ (ทั้งร่างกายและจิตใจต่อต้าน)

แนวคิดที่ได้จากการอ่านทั้งสามเล่ม
SPOILER RATE: MEDIUM มีการสปอยล์ปานกลาง
ในส่วนนี้เราจะสรุปไอเดียที่เราได้จากการอ่านทั้งสามเล่ม
โดยจะเขียนเป็นเล่มๆไป ใครไม่อยากให้ไอเดียเราทำลายจินตนาการ สามารถข้ามตรงนี้ไปได้เลย ขณะเดียวกัน ถ้าอยากอ่านไอเดียของเราแค่บางเล่มก็ย่อมทำได้ :) เราเชื่อว่ามีไอเดียอีกล้านแปดพันอย่าง ที่สามารถดึงออกมาได้จากหนังสือทั้งสามเล่มนี้ เรายินดีจะอ่านความเห็นของคนอื่น เช่นเดียวกับที่เราชอบอ่านเปเปอร์คนอื่นและฟังการตีความจากมุมมองอื่นๆในวิชาวรรณคดีที่เราเคยเรียนมา
ปล. เราไม่ได้วิจารณ์ในเชิงวิชาการ ฉะนั้นจะไม่มีการอ้างอิงหลักการหรือทฤษฎีใดๆอย่างจริงจังทั้งสิ้น 

ก่อนจะเจาะเข้าไปพูดเป็นเล่ม ขอบอกก่อนเลยว่าไอเดียหลักที่เราได้จากการอ่านซีรี่ส์นี้คือเรื่อง Identity โดยเน้น การค้นหาตัวตน, การพยายามเปลี่ยนแปลงตัวตน, การถูกนิยามความเป็นตัวตนโดยผู้อื่น และการนิยามตนเอง ซึ่งเราว่าเมื่อเอามารวมกับวิธีการนำเสนอ ถือเป็นไอเดียที่น่าสนใจทีเดียวสำหรับผู้อ่านระดับ Young Adults (แม้ในเรื่องจะโหดเลือดสาดมาก 555) เรื่องจากไดเวอร์เจนท์, อินเซอร์เจนท์ และอลีเจนท์ จะพัฒนาสเกลความใหญ่ไปเรื่อยๆ จากเรื่องเล็กๆ ไปเรื่องใหญ่ขึ้น ใหญ่ขึ้น เหมือนศึกษาเรื่องโลกมนุษย์, ระบบสุริยะ แล้วค่อยศึกษาจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาล
ดังนั้นในการพูดถึงแต่ละเล่มเราก็จะเจาะสองประเด็นนี้ควบคู่กันไป คือ เรื่อง Identity และการพัฒนาสเกลของปมปัญหาหลักในเรื่อง



DIVERGENT: 
finding your identities
เล่มแรก เรามองว่า เรื่องจะมุ่งเน้นให้เราเห็นถึงการนิยามตนเอง การพยายามตามหา faction ที่เรา belong to ส่วนคนที่เป็นไดเวอร์เจนท์ ถ้าไม่อยากถูกเก็บ ก็ต้องเลือกสัก faction แล้วทำตัวกลมกลืน เราจะได้เห็นว่านางเอกเลือกอะไรและจะผ่านการคัดเลือกเพื่ออยู่ใน faction นั้นๆได้อย่างไร

ต่อจากนี้มีสปอยล์สำหรับคนยังไม่ได้อ่านเล่มแรก
..........................
..............
.....

.
ให้โอกาสเลื่อนไปอ่านที่อื่น เร้ว! 

factions vs. factions
ทำไมเราขึ้นว่า factions vs. factions
ก็เพราะในตอนท้ายของเรื่อง การห้ำหั่นกันระหว่างกลุ่มก็เกิดขึ้น อันนี้ถือเป็นสเกลเล็กๆในสังคม
ทั้ง Erudite และ Dauntless รวมหัวกันบุก Abnegation
จุดเปลี่ยนคือ ทำให้ faction system พังไป 40% เหลือที่ยังอยู่กันจริงๆคือ Erudite, Amity และ Candor
จริงๆเรื่องเริ่มจาก Jeanine ที่คิดจะเป็นใหญ่ คิดกำจัดพวก Divergent
ในตอนจบเล่มหนึ่ง เราก็คิดแค่นี้จริงๆ แต่ก็จินตนาการภาพไม่ออกว่าจะไปยังไงต่อ เล่มสองจะเป็นยังไง
เล่มนี้จบได้เศร้าสุดอะไรสุด :( เราว่าเศร้ากว่าเล่มสาม เป็นเล่มเดียวที่ทำให้เราร้องไห้
สรุป เล่มแรกทำให้เราได้เห็นไอเดียของการตามหา Identity ของตัวเองและความขัดแย้งระหว่าง factions ที่ยังโยงไปไหนได้ไม่มากเท่าไหร่
หมดส่วนสปอยล์เล่มหนึ่ง



INSURGENT
those who want to be defined
เล่มสอง เบื้องหลังการหลบหนี การวางแผนโค่นล้มรัฐบาล Jeanine และการถูกตามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไดเวอร์เจนท์ของรัฐบาล 55  เรื่องจะเน้นให้เราเห็นกลุ่มคนอีกพวกนึง คือ พวก factionless หรือคนไร้สังกัด 55 ก็เหมือน homeless นั่นแล เราไม่สามารถ define คนกลุ่มนี้ได้ (ตามหลักการของสังคมไดเวอร์เจนท์) ว่าเป็นคนกล้าหาญ, เสียสละ, ฉลาด, รักสงบ หรือ ซื่อสัตย์ เพราะแม่งสอบตกการคัดเลือกจาก faction กันเกือบหมด (บางคนก็จำต้องออกมาจาก faction เพราะเหตุจำเป็นบางอย่าง หรือ ออกมาโดยสมัครใจก็มี) คนพวกนี้จะมี กลุ่ม Abnegation คอยดูแล ให้ข้าว ให้น้ำ ให้เสื้อผ้า ประเด็นคือ เราจะเห็นเลยว่า คนกลุ่มเนี้ย ที่คนอื่นคิดว่าไร้สมรรถภาพ ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จริงๆแล้วไม่ได้ powerless นะ เราจะได้รู้จักคนกลุ่มนี้ขึ้นมาอีกเยอะและความน่ากลัวของพวกนี้ด้วย เพราะสุดท้ายแล้ว.... 

ต่อจากนี้มีสปอยล์เล็กน้อยสำหรับคนยังไม่ได้อ่านเล่มสอง
..........................
..............
.....

.
ให้โอกาสเลื่อนไปอ่านที่อื่น เร้ว! 

factionless vs. factions
... กลุ่ม factionless มีประชากรเยอะซะจนน่าตกใจ
หลังจาก factions ฟาดฟันกันไปแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของ factionless vs. factions บ้าง
สเกลความขัดแย้งใหญ่ขึ้น จากแค่การสู้กันเองของคนในสังคม เป็นการสู้กันระหว่างคนในสังคมและคนที่ถูกกีดกันจากสังคมหรือคนนอกสังคม แม้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ Tris และ Tobias จะเข้าข้าง factionless แต่ conflict มันมากกว่านั้น เพราะแผนการที่แท้จริงของ the factionless คือ ล้มล้างระบอบ faction นี้
เราไม่คิดว่าคนที่เติบโตมาใน faction ทั้งชีวิตและไม่เคยสัมผัสชีวิตแบบ factionless จะเห็นด้วยอย่างเต็มใจหรอก
คือ มันออกแนว เรามีศัตรูคนเดียวกัน ฉะนั้นเราจึงร่วมมือกัน เราคิดว่าเป้าหมายของทั้งคู่ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกับพวก factionless แต่มีทางเลือกกันไม่มากนัก
สรุป เล่มสอง เป็นเรื่องการพยายามจะ define ตัวเองของพวก factionless คือ ไม่เลือกหรอกว่าจะอยู่ faction ไหน แต่จะนิยามตัวเองขึ้นมา โดยการทำลาย faction system ซะ แค่นั้นเอง เรื่องหลักๆเน้นไปที่การพยายามตามล่าไดเวอร์เจนท์, การพยายามค้นความลับที่รัฐเก็บไว้ แต่เราเห็นว่าประเด็นเล็กๆน้อยๆของ พวก the factionless ตรงกับประเด็นเรื่อง identity ที่เราอยากพูดถึง และพวกนี้ก็เป็นกลุ่มคนตัวอย่างที่รอเวลาอย่างเงียบๆ เพื่อวันหนึ่งจะได้ประกาศตัวออกมาได้ดังๆว่า "กูเป็นใคร"
หมดส่วนสปอยล์เล่มสอง




ALLEGIANT
Being defined by others
เล่มสามประเด็นเรื่อง Identity จะเห็นได้ชัดในบทสนทนาของ Tris กับ Tobias (ไม่ต้องกลัว ไม่สปอยล์ตรงนี้ 555) จะเห็นได้ชัดเลยว่า การที่เราถูกคนอื่นหรืออย่างอื่นกำหนดว่า "เราเป็นอย่างไร" มีผลกับคนหลายคนมากในวงกว้าง ทำให้เกิดชนชั้นในสังคมได้ เล่มนี้เป็นเรื่องการตามหาความจริง เราเชื่อว่าหลายคนคงคิดว่า Truth will set us free แต่จริงๆ เล่มนี้จะแสดงให้เห็นเลยว่า Truth is a trap คนบางคนในเรื่อง ไม่สามารถฟรีตัวเองออกมาได้ เพราะเจอความจริงแล้ว กลายเป็นว่าความจริงมาควบคุมชีวิตของคนๆนั้นไปเลย แทนที่จะได้ค้นหาตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง กลายเป็นว่าต้องมาติดกับดักชนชั้นนี้เข้าอีกจนได้ (หนีไม่พ้นและเถียงอะไรไม่ได้) นอกจากนี้ในสังคมไดเวอร์เจนท์ยังกำลังจะถูก defined ใหม่ โดย "คนอื่น" ด้วย ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่เราคิดว่าชี้ประเด็นการถูกยัดเยียดตัวตนจากคนอื่นได้ดี อารมณ์ว่า "คุณค่าของคนเรา สามารถกำหนดได้โดยคนอื่นจริงๆน่ะหรอ" สำหรับเราในเรื่องแสดงให้เห็นเลยว่า ทั้ง "เป็นไปได้" และ "เป็นไปไม่ได้" (ถ้าเคยอ่านแล้วน่าจะเข้าใจที่เราพูดนะ 555)

ต่อจากนี้มีสปอยล์เล็กสำหรับคนยังไม่ได้อ่านเล่มสาม
..........................
..............
.....

.
ให้โอกาสเลื่อนไปอ่านที่อื่น เร้ว! 

pure genes vs. damaged genes
สเกลความขัดแย้งใหญ่ขึ้นมากแล้ว จากแค่กลุ่มคนในสังคมสู่กัน จากคนนอกสังคมกับในสังคมสู้กัน กลายเป็นว่าเล่มนี้ไม่ได้นำเสนอเรื่องการสู้กันทางไอเดียหรือความเชื่ออีกต่อไป แต่สู้กันด้วยเรื่อง genes เอิ่มมมม... จะสู้กันยังไง ไม่ใช่เรื่องที่จะเปลี่ยนกันได้ คือ เอาจริงๆมันเป็นเรื่องที่กำหนดมา ว่าเออเป็นไดเวอร์เจนท์คือ ยีนส์บริสุทธิ์์ ถ้ายีนส์ไม่ตรงตามนี้นะ ไม่ใช่ divergent คุณถือว่าเป็นแค่ damaged gene ซึ่งคนมียีนส์ที่ถูกทำลายก็แค้นมั้ย 555 มึงเป็นใคร มาหาว่ากุ damaged? อิโทเบียสนี่เห็นได้ชัดมากกกกก เป็นตอนที่เราอยากจะตบกะโหลกมันมากที่สุด 555 เป็นเดือดเป็นร้อนกับเรื่องนี้มาก จนสุดท้ายพาทุกคนซวยไปด้วยจนได้
สรุปนะ เล่มสาม เป็นเรื่องการถูกนิยาม,ยัดเยียดตัวตนโดยคนอื่น เช่น การถูกกำหนดโดยยีนส์ ซึ่งอันนี้ทาง Bureau ก็กำหนดมาอีกที โดยยึดตามประวัติศาสตร์ที่ฆ่ากันมา และเช่นตอน Bureau จะรีเซ็ทความทรงจำคนในสังคม คือ เห้ย จะทำเหมือนหนูทดลองใช่ไหม หรือเล่นเกมแล้วแพ้ รีเซ็ทเกมใหม่ -*- ในเคสของโทเบียสเราเห็นด้วยกับทริสที่มองว่า การถูกยัดเยียดตัวตน (ว่าเป็น damaged gene) โดยคนอื่นไม่ได้ทำให้โทเบียสเปลี่ยนไปสักหน่อย โทเบียสก็คือโทเบียสอยู่วันยังค่ำ (ตรงนี้น่าจะตอบคำถามข้างบนได้ว่า เป็นไปไม่ได้ที่คนอื่นจะมากำหนดให้เราเป็นแล้วเราต้องเป็น เค้าบอกเราไม่เพียว เราก็จะไม่เพียวอย่างเขาบอกหรือ?) ส่วนเคสการจะรีเซ็ทความทรงจำของสังคม เราคิดว่าน่าจะตอบคำถามข้างบนได้ว่า เออ ถ้าคิดจะทำจริงโดยใช้เทคโนโลยีและวิวัฒนาการก็สามารถจะลบความทรงจำของคนในสังคม ลบตัวตนของเขา เพื่อสร้างตัวตนใดๆที่ทาง Bureau ต้องการ ก็ย่อมได้ ดังนี้ในเคสนี้คือ บางทีตัวตนของเราก็ถูกกำหนดโดยคนอื่นได้
หมดส่วนสปอยล์เล่มสาม

การนำเสนอเรื่องราว
SPOILER FREE ไม่มีสปอยล์
มาถึงประเด็นเรื่องการนำเสนอเรื่องราว
เล่มแรกและเล่มสอง จะเล่าผ่านมุมมองของ Tris นางเอก เป็นหลัก ซึ่งเราก็ชอบ แม้จะรำคาญนางเอกเล็กๆช่วงแรกและช่วงสวีทกับพระเอก 5555
แต่ในเล่มสามจะเล่าผ่านมุมมอง Tris กับ Tobias ซึ่ง เราว่ามันน่ารำคาญมาก เพราะโทเบียสเป็นคนที่มีความคิดไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย คือ เราเข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลังในชีวิตฮี แต่คือ ฮีไม่คิดถึงอะไรอย่างอื่นนอกจากตัวเองเลย เอาจริงๆ ชอบตอนทริสด่าให้ในบทที่ยี่สิบห้าหน้าสุดท้ายมากกกก (เล่มสาม) ตรงสุด 5555 สะใจ คือเราพรีเฟอโทเบียสในมุมมองของทริสมากกว่า ดูเป็นพระเอกกว่าเยอะ ส่วนทริสในมุมมองโทเบียสดูฉลาดและเก่งกาจมาก จนทำให้ตัวโทเบียสดูทึ่มไปเลย จุดนี้ทำให้เล่มสามน่าหงุดหงิด เพราะเรื่องมันไม่สมูธอ่ะ แต่เราก็เข้าใจอีกเหมือนกันว่าทำไมต้องเล่าจากมุมมองโทเบียสด้วย (ไม่บอกตรงนี้หรอก ตรงนี้สปอยล์ฟรี อิอิ)
การนำเสนอเรื่อง ก็ไม่มีอะไรน่าแปลกใหม่ เล่าธรรมดา ไม่หวือหวา แต่อ่านง่าย อ่านได้เรื่อยๆ ยกเว้นเล่มสามซึ่งมันอีรุงตุงนัง รายละเอียดเยอะมาก จนเราปวดหัว ยิ่งเล่าโดยสองคน เรื่องมันก็ไปซ้ายที ขวาที มึน เรื่องบางจุดก็ predictable ไม่ได้หักมุมอะไรมากมาย


ตัวละคร
SPOILER FREE ไม่มีสปอยล์
เราคิดว่าไม่มีสปอยล์นะ 555
โอเค ตอนแรกต้องยอมรับว่าเราไม่ชอบนางเอกเท่าไหร่ เราคิดว่านางเอกน่ารำคาญเบาๆ อาจเป็นเพราะเรื่องเล่าจากมุมมองนางเอกเอง ทำให้เรารู้สึกว่าผู้หญิงคนนี้ เยอะนะ แต่ลักษณะหนึ่งของนางเอกที่เราต้องยอมรับนอกเหนือจากเสียสละและกล้าหาญ ก็คือ เรื่องความฉลาด คือ นางเอกฉลาดมาก ไม่ใช่ในแง่ว่า คงแก่เรียน กระหายความรู้ แต่เป็นคนเซ้นส์ดีมากเวลาตัดสินใจจะทำอะไร แม้การกระทำบางอย่างจะน่าหมั่นไส้มากก็ตาม ส่วนตัวพระเอกโทเบียส เริ่มต้นด้วยบุคลิกน่าสนใจ เงียบๆ ขรึมๆ โหดๆ แต่ก็มีมุมน่าสงสารซ่อนอยู่ แต่พอมาเล่มสองเล่มสาม ขณะที่บุคลิกของนางเอกเริ่มเด่นขึ้นเรื่อยๆ เพราะชีเริ่มหาตัวเองเจอแล้ว บุคลิกของโทเบียสกลับน่าหมั่นไส้ขึ้นเรื่อยๆ จนเราว่าเล่มสามนี่ ไม่ไหวละ เราไม่ชอบเลยจริงๆ ช่างเป็นตัวละครที่คิดถึงแต่ตัวเองอะไรขนาดนี้ คือ รู้นะว่ารักนางเอก แต่ขณะเดียวกันก็เหมือนเป็นคนมีทิฐิก็เยอะ สุดท้ายเป็นไง หึหึ ... (ไม่ขอพูดต่อ 55555)
ตัวละครเสริมอื่นๆ ที่เราเห็นว่าน่าสนใจก็คือ Peter คนรู้จักเราจะรู้ว่าเรามักชอบตัวร้ายในหลายๆเรื่องเป็นพิเศษ เพราะเรารู้สึกว่าบางครั้งตัวร้ายเหล่านี้มีบุคลิกที่น่าสนใจกว่าพวกตัวเอก ความซับซ้อนจะมากกว่า เราคิดว่าหนังสือหรือภาพยนตร์ตะวันตก จะสร้างตัวร้ายได้น่าสนใจมากๆ ตัวร้ายที่ติดตรึงในความสนใจของเราก็ เช่น ลอร์ดโวลเดอร์มอร์, สเนป (เราสนใจตั้งแต่ความจริงยังไม่เปิดเผยว่าฮีเป็นคนดี เพราะรู้ว่าเป็นคนดี เรารักเลย 555) และอื่นๆที่นึกไม่ออก ปีเตอร์ก็เป็นบุคลิกนึงที่เราสนใจ เป็นพวกหมาลอบกัด แต่ในขณะเดียวกัน ในเล่มสองและสามก็ทำให้เรารู้ว่า ที่ร้ายๆแบบนี้ บางทีกลับกลอก แต่ก็มีศักดิ์ศรีบ้างเหมือนกัน และที่ร้ายๆไป บางทีฮีก็อยากจะกลับตัวนะ ความสัมพันธ์ของปีเตอร์กับกลุ่ม "คนดี" ในเรื่องน่าสนใจนะ คือ ไม่น่าเชื่อว่าจะหนีกันไม่พ้น เหมือนเป็นตัวละครติ่งที่กลุ่มคนดีไม่ต้องการ แต่ก็สลัดทิ้งไม่ได้สักที
ตัวละครอื่นๆ เราเฉยๆ ไม่ได้รักหรือชอบอะไรเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่จะออกไปทางไม่ชอบซะมากกว่า เหอๆ

ตอนจบ
สปอยล์ สปอยล์ สปอยล์ สปอยล์ สปอยล์ 
โปรดออกไปจากตรงนี้ ถ้าไม่อยากถูกสปอยล์
บาย บาย บาย เจอกันข้างล่าง 


ถ้าอยากรู้ใบ้ให้นิดนึงว่า เรื่องนี้จบไม่ดี! 


ถือว่าคนที่อ่านอยู่ ณ ตอนนี้พร้อมอ่านสปอยล์ละนะ
นับหนึ่ง

สอง

สาม...


โอเค... อะไรวะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะะ
#?$=#$="$=")#)?#)!==)#(/#($#/&$/!(#)!="?!"
อ่านมาตั้งสามเล่ม นี่หรือคือจุดจบที่เรารอคอย $%%"#"4%"""##$&%/&())&%&/
เล่มสามมีจุดที่เราไม่ชอบเยอะมากกกกกกกกกกกกก ขอเขียนแยกเป็นจุดที่ทั้งชอบและไม่ชอบดังนี้
จุดที่ชอบ
-เราชอบไอเดียเรื่องของยีนส์พันธุกรรม สงคราม และการที่บอกว่าสังคมไดเวอร์เจนท์จริงๆแล้วเป็นแค่ปฏิบัติการทดลองเพื่อพัฒนายีนส์ที่ผิดพลาด (คือ ตอนนั้นมีการแก้ยีนส์ แล้วมันพลาด) และพวกไดเวอร์เจนท์คือคนที่ยีนส์พัฒนากลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมแล้ว ไอเดียน่าสนใจมาก
-เราชอบทริสมากขึ้นเยอะ รู้สึกว่าชีฉลาดขึ้นมาก แม้ว่าตอนสุดท้ายชีจะตัดสินใจแบบนั้น เราก็ยังรู้สึกว่าชีฉลาด
-ทริสตายในตอนจบ เราชอบนะที่จบแบบนี้ ไม่ง่ายเท่าไหร่ที่จะฆ่าตัวละครเอก นักเขียนใจกล้ามาก
หมดแล้วสิ่งที่ชอบ 55555
จุดที่ไม่ชอบ
-วิธีการดำเนินเรื่องแบบทริสและโทเบียส ... เราเข้าใจว่าต้องมีคนเล่าเรื่องต่อหลังจากทริสตาย... แต่ ... เอิ่ม ... เราชอบโทเบียสในมุมมองของทริสมากกว่า โทเบียสมีความคิดที่น่ารำคาญมาก สำหรับเรา
-ทริสตายอย่างไม่สมเหตุสมผล คือ เราไม่ไมด์ว่านางเอกตาย ไม่ตาย อะไรยังไง ไม่แคร์ตรงนั้น แต่อยากให้มันสมเหตุสมผลมากกว่านี้ คือ การตายของตัวเอก มันควรจะสร้าง Impact อะไรที่มากกว่านั้น ควรจะเป็น impact ที่มีแต่ทริสเท่านั้น ที่จะสร้างได้ นึกออกมั้ย เหมือนอย่างแฮร์รี่ยังเงี้ย ใครไปตายแทนแฮร์รี่ได้ไหม ก็ไม่ มันจะได้ผลไม่เหมือนกัน ยังไงต้องเป็นแฮร์รี่เท่านั้น แต่ในเคสนี้ คือ ใครจะตายก็ได้ เหมือนทริสดันเจือกไป ก็เลยตาย (ซึ่งตามแผนการมันก็ไม่ควรจะเป็นทริส)
-รู้ความจริงกันง่ายเกินไป ตอนหลังเหมือนไม่มีอะไรน่าค้นหาอีกแล้ว ได้แต่อ่านต่อไปว่า เออ แล้วทุกคนจะทำไงต่อ มันหมดความตื่นเต้นแล้ว

อันที่จริงการตายของทริส ก็ตีความได้อีกแง่ว่า เป็นการตายกลับสู่จุดเริ่มต้นความเป็น Abnegation เป็นการตายที่เรียบง่ายโดยแท้ ชีอาจจะไม่ตายเพื่อ the greater good ไม่ได้สร้าง impact ที่ยิ่งใหญ่ แต่อย่างน้อยที่สุด ชีก็ตายแทนพี่ชายตัวเอง ซึ่งมันก็น่าชื่นชม แม้จะน่าเสียดายตัวละครดีๆอย่างนี้ก็เถอะ มันเป็นการนำเสนอความตายแบบง่ายๆ แบบที่เอาจริงๆ โลกปัจจุบันของเราก็เป็นอยู่ แบบ อ๊ะ ห๊ะ ตายแล้วหรอ! ตายได้ไง ทำไมตาย บลาๆๆ คือ เป็นอะไรที่มาเยือนเราเร็วจริงๆ
เราว่าเรื่องเล่มสุดท้าย ไม่ดึงดูดความสนใจเราเท่าที่ควร ตอนจบไม่ได้สร้าง impact อะไรกับเรามาก เราไม่ได้ร้องไห้ด้วยซ้ำ เพราะเรารู้มาก่อนแล้ว มันจุกเฉยๆ (แต่กลับไปอ่านตอนนี้อาจจะร้องก็ได้นะ ฮือออออ) ฮ่าๆ

ก็เป็นการจบที่ทำให้เราต้องแบบว่า
เอิ่มม // face palm...
หมดสปอยล์ตอนจบแล้ว
แล้ว
แล้ว
แล้วววว



ความรู้สึกที่มีต่อซีรี่ส์นี้
SPOILER FREE ไม่มีสปอยล์ 
เราคิดว่าซีรี่ส์นี้เป็นซีรี่ส์ที่อ่านเพลินทีเดียว อาจจะไม่ได้มี tension มากเหมือนฮังเกอร์เกมส์ แต่ก็มีไอเดียที่น่าสนใจ ภาษาอ่านง่าย ศัพท์แสงไม่ต้องเปิดดิกชันนารีมากนัก ชอบไอเดียที่แบ่งคนเป็นห้ากลุ่มนั้นมาก เราว่าเป็นการดึงเอาบุคลิกคนมาเล่นได้ดี มี quotes ดีๆเยอะ (ลองเสิร์ชหาในกูเกิ้ลได้) แม้ว่าเล่มสามจะดูแบบ เอิ่ม อะไรวะก็เถอะ เรื่องนี้ไม่ได้ออกแนวการเมือง กบฎ หรืออะไรมากมาย แต่จะออกแนวตามหาความจริงเสียมากกว่า เรื่อง freedom อันนี้ dystopian พูดกันอยู่แล้ว ยังกะเป็นธีมบังคับ ในเรื่องนี้ก็ปรากฏเหมือนกัน เราว่ามันไม่ใช่แนวอ่านไปแล้วจะฮึกเฮิม ยิ่งใหญ่ ซาบซึ้ง มันก็เหมือนการเล่าความจริงเกี่ยวกับสายพันธุ์มนุษย์ในวิธีที่แปลกออกไป ไม่ได้วิจิตรพิสดารมาก ชี้ประเด็นเรื่องวิทยาศาสตร์ วิทยาการที่ล้ำหน้า ว่าบางทีมันส่งผลร้ายยังไง ต้องมาตามล้างตามเช็ดกันยังไง นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องความเชื่อ ... ความเชื่อของมนุษย์นั้นส่งผลยิ่งใหญ่มาก ในการตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่าง นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องตัวตน ซึ่งเราได้อธิบายไปแล้วข้างต้น ... เป็นหนังสือที่หยิบยกอะไรออกมาพูดได้หลายแง่มุมทีเดียว แม้ในเรื่องจะมีหึงหวงกันเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีรักสามเส้า (ตัดเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราออกไปได้หนึ่งเรื่อง) เปรียบเทียบกับดิสโทเปียนเล่มอื่น อย่าง ฮังเกอร์เกมส์ เราว่าตัวเอกอย่างแคทนิส รักสันโดษนะ ถ้าเลือกได้ชีก็ไม่ได้อยากจะยุ่งกับใคร ถ้าไม่มีใครมายุ่งกับคนที่ชีรักหรือแคร์ ชีก็คงไม่ได้คิดจะลงมือออกมานำใครให้ไปประท้วง (ลองคิดว่าถ้าเอฟฟี่ไม่ได้จับชื่อ พริม ขึ้นมา แคทนิสก็คงไม่เสียสละลงเล่นฮังเกอร์เกมส์แทน) ส่วนลีน่า จากเรื่องเดลิเรียมที่เราเคยรีวิวไป อันนี้ เป็นคนที่เคยอยู่ในกรอบแต่ก็ออกมานอกกรอบได้อย่างสง่างามและดิบเถื่อนทีเดียว บุคลิกจะดูไม่บู๊เท่าคนอื่น แต่จริงๆแล้วถึกมาก เพราะเป็นคนที่สภาพจิตใจบอบช้ำสุดๆ ส่วนทริสเรื่องนี้ เราว่าเป็นคนมีความซับซ้อนในตัวเองพอสมควร ทำอะไรก็จะคิดก่อน อาจจะไม่ได้ไปลำบากในป่าในเขา แต่เป็นคนที่ความกล้าก็ไม่เป็นรองใคร จิตแข็ง เราว่าทริสบุคลิกเหมือนนักรบ แคทนิสเหมือนพรานป่า ส่วนลีน่า...อืม...นึกไม่ออก 555 คือ ด้วยความที่มีจุดต่างจากเรื่องอื่นๆ เราเลยรู้สึกว่าเรื่องนี้สนุกดี แม้ตอนท้ายจะทำได้ไม่ดีอย่างที่เราคาดหวังไว้ก็ตาม

อันที่จริงเราอยากจะเขียนอะไรอีกมากมาย แต่เขียนไม่ไหวแล้ว 5555 ขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดดีๆของโทเบียสในตอนจบของเล่มสามก็แล้วกัน

"There are so many ways to be brave in this world. Sometimes bravery involves laying down your life for something bigger than yourself, or for someone else. Sometimes it involves giving up everything you have ever known, or everyone you have ever loved, for the sake of something greater.
But sometimes it doesn't.
Sometimes it is nothing more than gritting your teeth through pain, and the work of every day, the slow walk toward a better life.
That is the sort of bravery I must have now" 
--Tobias, Allegiant


DIVERGENT QUESTIONS TAG
-แฟคชั่นที่คิดจะเลือก: Amity, ไม่ชอบ conflict อยากทำสวนทำไร่ 5555
-แฟคชั่นที่จะไม่มีวันเลือก: Dauntless, ตายห่ะ ตั้งแต่โดดจากรถไฟ ไม่ไปถึง Dauntless Compound แน่นอน
-เล่มโปรด: เล่มแรก
-หน้าปกหนังสือที่ชอบที่สุด: เล่มสอง สีเขียว สวยดี ดูแล้วสงบ สมเป็น Amity
-ตัวละครที่ชอบมากที่สุด: พูดยาก อืม... นางเอกแล้วกัน
-Manifesto ของแฟคชั่นที่ชอบมากที่สุด: Dauntless กับ Erudite, อันนึงฟังแล้วฮึกเหิม อีกอันเป็นความจริง ที่เออ.. ปฏิเสธไม่ได้ ขอคัดส่วนที่ชอบมาตรงนี้
ของ Dauntless บอกว่า
"We believe in ordinary acts of bravery, in the courage that drives one person to stand up for another... We believe in shouting for those who can only whisper, in defending those who cannot defend themselves."
ส่วนของ Erudite ชอบที่บอกว่า
"Ignorance is defined not as stupidity but as lack of knowledge. Lack of knowledge inevitably leads to lack of understanding. Lack of understanding leads to a disconnect among people with differences. Disconnection among people with differences leads to conflict. Knowledge is the only logical solution to the problem of conflict. Therefore, we propose that in order to eliminate conflict, we must eliminate the disconnect among those with differences by correcting the lack of understanding that arises from ignorance with knowledge."



จบจ้า



เหนื่อยมาก.


sábado, 19 de octubre de 2013

BOOKTALK: Requiem (Lauren Oliver)

REQUIEM: จุดจบของการต่อสู้เพื่อความรัก



จริงๆได้อัดวิดีโอพรั่งพรูความในใจไปแล้วทั้งซีรี่ส์ แต่ก็อดไม่ได้ ขอเขียนสักหน่อย ขอยกพื้นที่เล็กๆตรงนี้ให้เล่มสุดท้าย Requiem ...

ถามว่าเราคาดหวังกับเล่มนี้มากแค่ไหน ... บอกเลยว่าไม่คาดหวัง เพราะรีวิวหนาหูมากว่าจบไม่ค่อยสวย
เราเองก็ไม่ได้คิดว่าเรื่องสไตล์นี้มันจะจบสวย แต่อย่างน้อยเรื่องที่มีความรักเป็น core มันก็ควรจะจบแบบ อวยชัยให้ความรักหน่อยสิ ... (เศร้า) แต่เปล่าเลยจ้ะ

บอกตรงๆเราคงรู้สึกเหมือนลีน่า ... ธ่อ.... กุสู้มาตั้งนาน ... นี่หรอคือโลกที่คนมีความรักควรจะอยู่
สุดท้ายแล้ว คนที่ต้องการความรัก ก็ไม่ได้สู้โดยใช้ความรักเป็นเครื่องมือ แต่ใช้ความเกลียดชังที่มีต่อฝ่ายตรงข้าม ความหยาบกระด้าง ความต้องการเอาชนะ เป็นตัวผลักดันให้สู้ ให้เกิดสงคราม

สุดท้ายลีน่า เธอก็ไม่เลือกใครลงไปให้ชัดเจน ... แต่เราก็เข้าใจข้อจำกัด ความซับซ้อนในใจของชีนะ เออ มันไม่ง่ายหรอกที่จะเลือก (แกมันเลือกได้นี่!) แต่ถ้าเป็นเรา เราคงจัดการให้เรียบร้อย ถ้าจะไม่เอาใครเลย ก็คงต้องแสดงออกให้ชัดเจน แต่ใจเรา คิดว่าชีคงเลือกอเล็กซ์อยู่ลึกๆ แต่ชีเป็นคนพาจูเลียนมาไง จะทิ้งๆขว้างๆเค้าก็คงไม่ได้ จูเลียนก็ดีกับชี ผ่านอะไรมาด้วยกันก็เยอะ ถ้าให้จบจริงๆ เราว่าลีน่าคงรักอเล็กซ์มาก แต่คงเลือกจูเลียน .. คือ หลายครั้งความรักมันมีอะไรมากกว่าแค่ ฉันรักเธอ และ เธอก็รักฉันไง บางทีความรับผิดชอบ มันก็ต้องผูกติดมาด้วย ในโลกแห่งความเป็นจริงน่ะนะ

เศร้าอ่ะ อ่านเล่มสุดท้ายแล้ว แม้เราจะกินใจกับฉากโรแมนติกของลีน่าและจูเลียนในเล่มสอง แต่เราก็รู้สึกอยากให้ลีน่าคู่กับอเล็กซ์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ลีน่าเป็นในตอนนี้ ไม่ว่าจะบอกว่าตัวเองเปลี่ยนไปยังไง ถ้ามองย้อนกลับไป ก็ต้องยอมรับว่าจุดเริ่มต้นมาจากอเล็กซ์ ... นึกถึงตอนที่มาในป่าใหม่ๆ แล้วต้องเดินไปตักน้ำที่แม่น้ำไกลมาก ชีก็จินตนาการเอาว่า ถ้าเดินเร็วอีกหน่อยจะตามอเล็กซ์ได้ทัน ทั้งๆที่ตัวเองเห็นอเล็กซ์ถูกยิงต่อหน้าต่อตา รู้ว่าโอกาสรอดไม่มาก ... เราเข้าใจความรู้สึกนั้นเลย 5555

ถ้าจะเทียบแล้วสำหรับอเล็กซ์ ความรักก็คงเป็นการเสียสละ ส่วนจูเลียน ความรักก็คือการปกป้อง
ลีน่าเอาอเล็กซ์ไปเถอะ จริงๆนะ จูเลียนเพิ่งเริ่มรัก น่าจะได้เจอใครที่ดีกว่านี้อีกมาก เอาคอรัลไปก็ได้

เออพูดถึงคอรัล นึกขึ้นได้ว่าเป็นจุดที่เราเกลียดในเล่มสาม
คือ เป็นเรื่องน้ำเน่า ประชดกันไปมานี่แหละ อเล็กซ์ทำดีกับคอรัล ลีน่าหึง หันไปหาจูเลียน ฯลฯ
น่าเบื่อมาก แต่ต้องยอมรับว่า เออ ตอนท้ายทำชดเชยได้ดี แม้จะเจ็บปวดและไม่ตรงใจเรา แต่ถือว่าเป็นตอนจบที่ดี

จริงๆฮานาน่าจะได้เจอความรักสักหน่อยนะ อยากรู้จริงๆว่าพวกที่ cured แล้ว จริงๆแล้วยังมีความรักได้หรือไม่
บอกตรงๆ อ่านเรื่องฮานา เรายังรู้สึกว่า ชีก็เป็นคนปกติที่มีอารมณ์ความรู้สึกปกติ ไม่เห็นเหมือนได้รับการรักษาเลย ...
หรือว่า จริงๆแล้วการรักษาเป็นแค่ในนาม สิ่งที่รักษาความรักของคนทั้งเมืองนั้น จริงๆแล้ว ไม่ใช่ยา ไม่ใช่การเข้าแล็บ แต่คือ การเลือกที่จะไม่รักเองมากกว่า เพราะทุกคนรู้ว่า รักแล้ว ผิด จริงๆแล้วอาจจะไม่มีใครกล้าพูดออกมาว่า ... เออ การรักษาไม่ได้ผลว่ะค่ะ กุพยายามทำตัวของกุเอง ก็เป็นได้

เราชอบนะที่สงครามยังไม่จบ ... เหมือนเป็นการบอกเลยว่า ยังไงการต่อสู้เพื่อให้ได้รับอะไรสักอย่าง มันไม่มีทางจบง่ายๆแค่ในหนังสือสามเล่มหรอก ... บางคนอาจจะต้องใช้ทั้งชีวิต ลีน่า อเล็กซ์ จูเลียน และพวก Invalids ทุกคนก็เหมือนกัน

viernes, 5 de julio de 2013

BOOKTALK: Pandemonium -- Lauren Oliver


 PANDEMONIUM

เพิ่งจะอ่านจบไปสดๆร้อนๆ ขอกรี๊ดก่อนแล้วกัน
โอยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย

เรื่องนี้ก็ต่อจาก Delirium เลย แต่วิธีการเล่าจะเป็นสองช่วงเวลาสลับกันคือ now และ then
ตอน then ก็จะเล่าชีวิตของ Lena ใน the Wilds การเติบโตของตัวละคร ซึ่งเราชอบชีในเวอร์ชั่นนี้มากกว่าเดิมเยอะเลย ส่วนตอน now ก็จะเล่า Lena ตอนเป็นพวกต่อต้าน แล้วแฝงตัวเข้ามาเพื่อตามดู Julian เด็กหนุ่มที่ยังไม่ได้รับการรักษา แต่เป็น symbol ขององค์กรที่ต่อต้านพวก Invalids คือ รายละเอียดมันก็เยอะอ่ะนะ ขี้เกียจจะสาธยาย 5555
เอาเป็นว่า สองคนนี้โดนจับตัวไปใต้ดินพร้อมๆกันจ้า (ซึ่งอันนี้ที่จริงเป็นแผนของพวก Lena เองด้วย แต่ชีไม่รู้เรื่องไง เค้าบอกให้ชีเฝ้าพ่อหนุ่มคนนี้ ชีก็เฝ้าไป พอเค้าโดนจับ ชีก็ตามไป เลยโดนจับไปด้วย)

และแน่นอน ระหว่างถูกจับ ความรักก็บังเกิดงอกงามขึ้นจ้า พอกลับขึ้นมาก็ได้ไปแอบอยู่ด้วยกันที่ homestead ของพวก Invalids  ปรากฏว่า Julian กับ Lena ก็จูบกัน โอยยยย นี่เป็นฉากโปรดมากกกก น่ารักมากกกกกกก มากกว่าตอนกับ Alex อีกกกกก (กรีดร้อง) แต่ปรากฏว่าก็โดนตามจับ Lena ปลอดภัย แต่ Julian จะโดน executed สุดท้ายชีก็ไปช่วย ทุกคนหนีกันไปได้ จะขึ้นเหนือ
ไฮไลต์มันอยู่ตรงนี้ ว่า ตอนที่กำลังสัญญิงสัญญานั้น ตา Alex โผล่มา ... อ้าว ยังไม่ตาย ... เวร -.-

เจ็บปวดกับตอนจบจริงๆ
คือเราก็เข้าใจ Alex นะ แต่เราเชียร์ Julian อ่ะ ดูแบบอินโนเซ้นท์ ใจเย็นกว่า และบลาๆๆ
ส่วนที่ชอบในเรื่องนี้น่าจะเป็นพล็อตนะ แล้วก็แอบอยากให้ทั้งคู่สวีทกันมากกว่านี้
ชอบที่นางเอกเข้มแข็งขึ้นมากๆ เพราะต้องอยู่ในป่า หากินเองกับคนอื่นๆ ต้องเห็นพวกพ้องตายไปต่อหน้าต่อตา คือ มันดิบมาก ...
แล้วพอมาเจอ Julian ก็แบบ น่ารักอ่ะะะะะะ แม้ Alex จะยังตามมาหลอกหลอน แต่ Julian ดูเป็นคนนุ่มนวลมาก เราเองก็ไม่ได้อาลัยอาวรณ์กับ Alex ตั้งแต่ภาคแรกอยู่แล้ว ก็เลยเฉยๆ เจอฉากจูบฉากนั้นไป เรากรี๊ด สลบทันที

(แม้จะรู้ว่า สุดท้ายชีก็น่าจะกลับไปหา Alex อ่ะนะ)

โอยย ไม่รู้จะคอมเม้นท์อะไรมาก แต่ที่ไม่ชอบคือ ส่วนที่ตัดกลับไปกลับมาระหว่าง now and then นี่ล่ะ ก็พอจะเข้าใจว่า นักเขียนพยายามจะหาวิธีการเล่าที่ไม่น่าเบื่อ คือไม่ใช่เล่าตาม chronological order แต่คือแบบ มันทำให้เรามึนๆงงๆ บางที ต้องพลิกไปดูหน้าแรกว่า เออ นี่ตอนไหนนะ now หรือ then แล้วเราก็ชอบ Lena ในเวอร์ชั่นอยู่เมือง ตามดู Julian เลยเฝ้าแต่จะอ่านตอนพวกนั้นเร็วๆ คือ ตอนอยู่ป่า ชีวิตแลดูหดหู่เกินบรรยาย ต้องมาเผาศพเพื่อน ไม่มีข้าวกิน โดนถล่ม หลงกัน มีคนตาย ฯลฯ

ไม่ไหว หดหู่เกินไป

สรุปเรื่องก็ค้างเติ่งอยู่ตรงที่ Alex โผล่มา เอ่อะะ...
ไม่รู้จะไปซื้อเล่มสุดท้ายมาอ่านดีมั้ย แต่ก็คิดว่าจะอ่านๆไปนั่นแหละ จะได้จบซีรี่ส์สักที

นี่ช่วงตุลา เล่มสุดท้ายของ divergent จะออกแล้ว ตื่นเต้นมาก
ต้องกลับไปอ่านเล่มแรกใหม่ตั้งแต่ต้นแล้วล่ะะะะ!!!

จริงๆไม่ได้อยากจะรีวิวอะไรมากมาย แค่จะมากรี๊ดความสวีทของ Julian&Lena <3


jueves, 25 de abril de 2013

BOOKTALK❤ Delirium -- Lauren Oliver


คำเตือน บทความนี้อาจมีการสปอยยยยยล์เนื้อเรื่อง

Delirium: เมื่อความรักเปรียบเสมือนโรคร้าย 



ช่วงนี้ชีวิตกลับมาสู่วัฏจักรการอ่านอีกครั้ง หนังสือเรื่องล่าสุดที่เพิ่งอ่านจบไปคือเรื่อง Delirium เขียนโดย Lauren Oliver อ่านจบแล้วรู้สึกว่า เราควรจะทำตัวให้ productive นะ อย่างน้อยก็สะท้อนความคิดตัวเองออกมาบนพื้นที่เล็กๆนี้สักหน่อย ไม่ได้เสียหายอะไรนี่นา (ไหนๆสมองก็ว่างอยู่แล้วช่วงนี้) ด้วยเหตุนี้ จึงตัดสินใจเอาฟะ มาบ่นในบล็อกสักหน่อย

เท่าที่ผ่านมาอดสังเกตไม่ได้ว่าตัวเองอ่านหนังสือประเภท dystopian society มาเยอะมากพอสมควร อาจจะเป็นเพราะมันกำลังเป็นเทรนด์ของหนังสือช่วงนี้ล่ะมั้ง หลังจากที่เป็นแฟนตาซีตามแฮร์รี่ พอตเตอร์มานาน 

Delirium เป็นอีกเรื่องที่มีฉากเป็น utopian society คือ ทุกอย่างสงบ ไม่มีความเจ็บปวด ทุกอย่างดำเนินไปตามที่มันควรจะเป็น ตามคำสั่งของรัฐบาล แต่สุดท้ายงานเขียนสไตล์นี้จะดึงให้เราฉุกคิดว่า ชีวิตแบบนั้นมัน utopian จริงๆเรอะ dystopian theme book จะพยายามชี้ให้เห็นว่า อืมม ชีวิตแบบนั้นน่ะ มันไม่โอเคนะ ชีวิตมันควรจะมีอะไรมากกว่านั้นสิ! ใน Delirium ก็พยายามจะนำเสนอแนวคิดเหมือนกัน 

ขณะที่ The Hunger Games และ Divergent ที่เราอ่านมาก่อนหน้านี้ นางเอกทั้งสองเรื่อง พวกชีจะแอคชั่นกันหนักปางตายมาก Delirium กลับดึงเรื่อง "ความรัก" ขึ้นมาเล่นเป็นหลัก ตัวเอกในเรื่องนี้เลยดูปวกเปียก ซอฟต์ๆ แอบงี่เง่าพิกล เราปลื้มชีน้อยที่สุดในบรรดานางเอก dystopian books 3 เล่มที่อ่านมาในช่วงปีสองปีนี้เลย 

นักเขียนเซ็ทให้สังคมของตัวเอก "Lena" มองว่าความรักนั้นเป็นโรคอย่างหนึ่ง เพราะความรักก่อให้เกิดความเจ็บปวดต่างๆมากมาย ทำให้เกิดอาการเพ้อคุ้มคลั่ง ฯลฯ รัฐบาลถึงขั้นล้างประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว ออกหนังสือข้อกำหนด บลา บลา ไล่จับพวกที่ฝ่าฝืนริมีความรัก ทุกคนเมื่ออายุถึงกำหนด จะต้องได้รับการรักษา ต้องแต่งงานกับคนที่รัฐบาลจับคู่ให้ ดำรงชีวิตแบบไม่รู้จักความรัก คือ ถ้าคนเคยอกหักอาจจะแวบคิดว่า เออ สังคมแบบนี้อาจจะดีก็ได้ เรายังคิดเลย 555 แต่สิ่งที่เราจะไม่ได้ทำในสังคมนี้ก็คือ "เลือก" เลือกที่จะเป็นอะไรสักอย่าง ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องธรรมดาของการสร้างสังคมยูโทเปียในอีกสองเรื่องที่เราอ่านมานะ สิ่งที่ทุกคนจะไม่มีเลยก็คืออิสรภาพในการเลือกทางเดินชีวิตของตัวเอง 

แน่นอนว่าเพื่อให้เข้ากับชื่อเรื่อง Delirium ที่แปลว่า อาการเพ้อ อาการคุ้มคลั่ง นางเอกก็ต้องหลงรักหัวปักหัวปำสินะ Lena ได้พบเจอกับหนุ่มผมสีเหมือนใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง (ไหงสำหรับเราผู้ชายแบบนี้มันดูเหมือนผมสีไฟลุกมากกว่า ไม่เห็นจะดูหล่อตรงไหน) ช่วงก่อนที่เธอจะได้เข้ารับการรักษา เท่านั้นล่ะจ้า เตลิดเปิดเปิง แล้วก็คิดหนีตามกัน (พล็อตเรื่องคุ้นๆ...) คือ จากที่เป็นคนขี้กลัว ไม่เคยแหกกฎ Lena ก็แหกกฎทุกอย่าง แต่แล้วก็ถูกจับได้ จะถูกเอาไปรักษาก่อนกำหนด พระเอกมาช่วย หนีตามกันไปอีีก จะออกนอกเขตชายแดน แต่สุดท้ายก็ไม่รอด พระเอกถูกยิง ส่วน Lena หนีเข้าป่าไปได้ เรื่องจบอยู่แค่นี้ ตอนต่อไปต้องอ่านเล่มสอง (มีทั้งหมดสามเล่ม)

เมืองที่เป็นฉากหลักของเรื่องคือเมือง Portland แต่เราไม่รู้ว่าคือเมือง Portland ที่อยู่ในรัฐ Oregon ของอเมริกาหรือเปล่านะ ฉากในเรื่องนี้จะดูสมจริงกว่าเรื่องอื่นๆนิดนึง คือ ยังเป็นเมืองปกติธรรมดา ไม่ได้มีเทคโนโลยีเว่อร์อลังการ ยังเรียกประเทศตัวเองว่าอเมริกา สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการปกครอง ความเชื่อของคนในเมืองที่คิดว่าความรักเป็นโรคร้ายจริงๆ นอกจากนี้ยังมีเขตนอกเมืองออกไปที่เป็นที่อยู่ของพวก Wilds หรือพวก Invalids ทั้งหลาย ซึ่งคนพวกนั้นหนีออกไปเพราะไม่เชือในการปกครองแบบนี้ พวก Wilds หรือ Invalids จะกลับมาที่ Portland ไม่ได้อีก ต้องหลบๆซ่อนๆ ถือว่าไม่มีตัวตนไปเลย 

ในส่วนของการสร้างตัวละคร ส่วนตัวเราเฉยๆนะ คิดว่าตัวละครไม่ได้มีบุคลิกที่แปลกหรือแตกต่างอะไร แต่เราไม่ค่อยชอบตัวเอก เพราะดูงี่เง่าและน่ารำคาญมาก แม้ว่านักเขียนจะให้แบคกราวด์ตัวละครมาแล้วว่า ชีวิตครอบครัวของเธอทุกคนต้องประสบกับการเป็น "โรค" ติดเชื้อความรักด้วยกันทั้งนั้น ทั้งแม่ ทั้งพี่สาว คนภายนอกค่อนข้างจะคิดว่าเธอมีเชื้อโรคนั้นอยู่ในตัวด้วย เธอเลยโตมาในบ้านของป้าหรือน้านี่แหละ ถูกคนมองไม่ค่อยจะดี เป็นคนธรรมดาๆไม่ได้เด่นอะไร ชีก็คงจะมีความเก็บกดส่วนตัวอยู่ ฟังดูน่าสงสาร ทำให้ชีวิตดูขัดแย้งในตัวเองพิกลๆ ส่วนพระเอก Alex ก็ดูเป็นพระเอกตามสไตล์ ชอบนางเอก สอนความรักให้นางเอก เสียสละเพื่อนางเอก ฯลฯ ทำนองนั้น ส่วน Hana เพื่อนนางเอก เป็นสไตล์ที่เราชอบนะ แต่มีคนไปอ่านหนังสือที่เค้าเขียนผ่านมุมมองของ Hana รีวิวกันมาว่า ชีแอบร้าย ขี้อิจฉา และสุดท้ายก็คงทรยศ Lena แต่เรากลับรู้สึกว่าดูเป็นตัวละครที่ดูมีชีวิตชีวาดี ไม่มืดๆทึมๆแบบนางเอกน่ะ 

ถึงแม้จะเป็นสังคมที่มีกรอบล้อมทุกด้าน แต่วัยรุ่นที่นี่ก็มีอิสระพอตัวเมื่อเทียบกับวัยรุ่นเรื่องอื่นๆที่รัฐบาลคุมเข้มมากกว่านี้ ช่วงก่อนได้รับการรักษากันสองสามเดือนเนี่ย เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทีเดียว  หลายคนก็มาเสียผู้เสียคน ติดโรคกันเอาตอนนี้นี่ล่ะ เช่นตัวนางเอกเป็นต้น พี่นางเอกเองก็เคยเป็นมาก่อน แต่สุดท้ายแล้วก็ถูกลากตัวพาไปแล็บเพื่อรักษาโดยด่วน

ในส่วนสไตล์ผู้เขียน บางตอนเค้าก็เขียนดี บรรยายสวย ติดบรรยายละเอียดในบางตอนมากไปนิด เราเลยรู้สึกว่าน่าเบื่อมาก แต่ก็บรรยายได้ค่อนข้างเห็นภาพดีทีเดียว ถ้าเป็นคนไม่ชอบเรื่องสไตล์เวิ่นเว้อ เล่มนี้อาจจะไม่ถูกใจนัก ก็ปมเรื่องเราว่ามันแค่นิดเดียวเองนะ จิ๊ดเดียวเอง เป็นปมเรื่องสไตล์รักกันไม่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งเป็นอะไรที่เอามารีเมคกันเยอะแยะแล้ว มีการอ้างถึงรักสไตล์นั้นในเรื่องด้วย อย่างเรื่องของโรมิโอกับจูเลียต เรื่องในแต่ละตอนที่ดำเนินไป บางทีเราว่ามันยืดยาววววไปหน่อย แต่เรื่องนางเอกกับพระเอกจริงๆดูมีน้อยมาก แบบเวลาสวีทกันเนี่ย เราว่ามันยังไม่กินใจมากพอ ตอนสุดท้าย พอพระเอกโดนยิง นางเอกหนีไป เราเหมือนยังไม่อินอ่ะ รู้สึกเฉยๆ ทั้งๆที่เรื่องแบบนี้ปกติ เราจะน้ำตาซึมตามแล้วนะ ในเรื่องเรากลับน้ำตาซึมเพราะเรื่องมิตรภาพมากกว่า 

สรุปแล้วเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นหนังสือที่ใช้ได้เล่มหนึ่ง ถ้าใครชอบสไตล์ความรักโรมิโอ-จูเลียต ที่ต้องหลบๆซ่อนๆ พยายามจะหนีตามกันไป ก็อาจจะชอบเล่มนี้นะ แม้ว่ามันจะไม่ได้จบแบบ tragic ขนาดนั้น (คือ มันจบแบบให้ติดตามต่อมากกว่า อิพระเอกโดนยิงก็จริง แต่คือก็ไม่ได้เห็นชัดๆว่าตายน่ะ นึกออกมะ อาจจะไปอยู่ในคุกก็ได้) และถ้าใครชอบพวก The Hunger Games หรืออ่าน Divergent มา แล้วติดใจ "ความขบถ" ของตัวละครเอกที่มีต่อสังคม ต่อรัฐบาล ก็น่าจะอ่านเล่มนี้ได้เพลินๆ แต่อย่าคาดหวังว่านางเอกจะลงไปบู๊มากขนาด Katniss หรือ Tris นะ เพราะจะผิดหวังได้ 

คือ เรื่องในเล่มนี้ มองอีกมุม นางเอกก็เหมือนเด็กใจแตกเหมือนกันนะ คือโอเค พวกเราโตมาในสังคมที่ความรักเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องสวยงามไง พอเราอ่านหนังสือเล่มนี้ มีสังคมที่มองว่าความรักเป็นโรคแบบนี้ มันเลยทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ย ได้ไงอ่ะ สังคมแบบนี้ อยู่ไม่ได้หรอกนะ ฯลฯ แล้วก็เชียร์นางเอกไง แบบ เย้ เธอได้รู้จักความรัก แต่มองในมุมใหม่ ถ้าเราเป็นคนสังคมนั้นอ่ะ คือความรักมันก็อาจจะเป็น disease จริงๆก็ได้นะ ขนาดเราถูกปลูกฝังว่ารักดีอย่างนั้นอย่างนี้ เราควรมีความรักให้แก่กัน บลาๆ ทุกวันนี้เราก็ยังเห็นผลร้ายของความรักได้อยู่เลยอ่ะ คือ ถ้าเจอคนแบบนางเอก คิดหนีตามผู้ชายอ่ะ ทั้งๆที่อายุสิบหกสิบเจ็ด นี่คือเราก็มองว่าใจแตกป่ะ 5555 แต่ก็เข้าใจนะ มันไม่ใช่แค่หนีตามกันไปไง แต่มันคืออาการรับไม่ได้ เมื่อได้รู้ความจริงทั้งหมด มันเหมือนคนตาบอดมาแต่กำเนิดแล้วจู่ๆก็มองเห็นอ่ะ ถึงจะถูกทำให้ตาบอดอีกรอบ เราก็ยังไม่มีทางลืมสิ่งที่เราเห็นไปได้ง่ายๆ หรือเหมือนบางเรื่องที่เราไม่รู้ พอเราได้รู้แล้ว มันก็ไม่มีทางที่เราจะกลับไป "ไม่รู้" ได้อีกน่ะ 

ในหนังสือบอกอาการคนมีความรักได้อย่างเป็น fact มาก ถ้าเราอ่านเชิงวิทยาศาสตร์ ก็จะรู้สึกว่าเออว่ะ มันก็เหมือนโรคๆนึงได้จริงๆ 
คือ เราว่าสังคมยูโทเปียของนางเอกนี่ก็สร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลนะ 
แต่เราเห็นต่างจากรัฐบาลตรงที่ว่ามันไม่ใช่รักอ่ะที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
"ความไม่รัก" ต่างหาก ที่ทำให้เราเป็นแบบนั้น

แต่รัฐบาลก็ทำแสบดีนะ เอา "ความเฉยๆ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับรักจริงๆมาเป็นหลักยึดในสังคมแทน
แบบ เออ ดี คิดได้ 
คนในสังคมเลยเมินเฉยกับทุกเรื่องในชีวิต 

และหลังจากที่เถียงกับตัวเองมานาน ก็ตัดสินใจสั่งหนังสือเล่มสองไปแล้ว
ไว้ว่างๆอ่านจบจะมาคุยให้ฟังใหม่ ว่าความคิดที่มีต่อเรื่องทั้งหมดเราเปลี่ยนไปบ้างไหม ;)